สมัคร ยันแนวคิดทำประชามติ
สมัครเดินหน้าทำประชามติ ปล่อยให้พันธมิตรฯชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ ยันไม่มีใครบังคับให้ยุบสภา ด้าน สดศรี ชี้ทำได้แต่ไม่ใช่เร็ววันนี้ ที่สถานีวิทยุ อสมท เมื่อเวลา 15.10น.วันที่ 4 กันยายน นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังออกรายการ “คุยได้คุยดี” ทางคลื่นวิทยุ 96.5 อสมท. ถึงแนวคิดการทำประชามติว่า แม้จะต้องใช้เวลา แต่คณะทำงานตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะต้องดูแลความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิด จากการชุมนุมซึ่งถ้าสามารถควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในกรอบได้ ก็จะยกเลิกการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อไม่ให้การทำประชามติเกิดการสะดุดนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนั้น คงต้องปล่อยให้มีการชุมนุมกันต่อไปและขณะนี้ได้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาไปดูและร่างเกณฑ์การทำประชามติแล้ว ดังนั้น พันธมิตรฯก็สามารถใช้เวลาในช่วงก่อนลงประชามติรณรงค์เนื้อหาตามแนวคิดของตัวเองได้ ซึ่งถ้าหากคนส่วนใหญ่ของประเทศเห็นด้วยกับการกระทำของกลุ่มพันธมิตร ก็ต้องหันกลับมามองในเรื่องการแก้ไขกฎหมาย แต่หากผลการทำประชามติออกมาว่ากลุ่มพันธมิตรกระทำไม่เหมาะสมก็ต้องมีกติกา ว่าต่อไปจะทำอย่างนี้ไม่ได้ เมื่อถามว่า หากมีการกล่าวหาว่ารัฐบาลล็อกผลประชามติหรือซื้อเสียงจะแก้ข้อกล่าวหาอย่าง ไร นายสมัคร กล่าวว่า “ยังไม่ทันทำเลยก็จะมากล่าวหากันแล้วหรือ เรื่องการทำประชามติก็มีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ดูแลอยู่ ก็ให้กกต.เป็นผู้รับผิดชอบไป” เมื่อถามอีกว่า หากมีการนัดหยุดงานหรือปิดถนน อาจทำให้ประชาชนดือดร้อน รัฐบาลจะแก้ปัญหาอย่างไร นายกรัฐมนตรี ย้อนถามว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้เป็นเพราะสื่อช่วยกันประโคมข่าวใช่หรือ ไม่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีคณะกรรมการตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินคอยดูแลอยู่ ทั้งนี้ รัฐบาลคงไม่ไปเจรจากับพันธมิตรฯ และทางพันธมิตรก็คงไม่อยากเจรจากับรัฐบาล เมื่อถามว่า หากพันธมิตรฯยอมถอย 1 ก้าว ด้วยการยอมรับการเลือกตั้งใหม่ตาม รัฐธรรมนูญ 2550 นายกรัฐมนตรีจะทบทวนการตัดสินใจยุบสภาหรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า การเลือกตั้งใหม่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีการยุบสภา แต่ไม่มีใครสามารถบังคับให้ตนตัดสินใจยุบสภาได้ ทั้งนี้ การตัดสินใจยุบสภาไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องเป็นไปตามความเหมาะสม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นนายสมัคร ได้เดินทางยังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไข ปัญหาการบริหารจัดการข้าวครบวงจร ครั้งที่ 3 “สดศรี”เชื่อเป็นวิธีการที่รัฐบาลทำได้ด้าน นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงการที่รัฐบาลจะให้ กกต. ดำเนินการจัดทำประชามติ ว่า ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ....เพิ่งจะผ่านว่าระของส.ส.ไปเมื่อวันที่ 28 ส.ค.ซึ่งก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหารายละเอียดจำนวนมากจากที่เรากำหนดไป 42 มาตรา แต่ไม่มีการแก้ไขเพียง 17 มาตรา โดยเฉพาะมาตรา 8 ที่เป็นเนื้อหาสาระสำคัญในเรื่องของการออกเสียงเพื่อให้ได้ข้อยุติก็ได้มี การแก้ไขกัน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าในขั้นตอนของวุฒิสภาจะมีการแก้ไขเนื้อหาส่วนใดอีกหรือไม่ ซึ่งได้กำหนดไว้ว่าจะต้องให้เสร็จภายใน 90 วันส่วนจะเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับที่วุฒิสภาจะพิจารณา หลังจากที่รับวาระแล้ว นอกจากนี้แล้วยังต้องผ่านการเห็นชอบของศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่ามีมาตราใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ นางสดศรี กล่าวอีกว่า กกต.พร้อมที่จะจัดทำการออกเสียงประชามติ แต่รัฐบาลจะต้องตั้งคำถามมาให้กกต.ให้ชัดเจนว่า ต้องการถามอะไรประชาชน ซึ่งการทำนั้นจะต้องมีลักษณะสั้นง่าย กระชับและประชาชนเข้าใจ และไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 165 ที่ระบุ ว่า การจัดออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือเกี่ยวกับตัว บุคคล และคณะบุคคล จะกระทำมิได้ ดังนั้นการทำประชามติหากจะถามในเรื่องการแก้กฎหมายบางมาตรา เช่น ให้นายกรัฐตรีมาจากคนนอกได้หรือไม่ หรือเป็นแนวทางพันธมิตรว่า ให้ส.ส.มาจากการเลือกตั้ง 30 ส.ส.มาจากการแต่งตั้ง 70 หรือไม่หรือไม่ก็ได้ แต่จะมาบอกว่า ให้นายกลาออก หรือยุบสภาทำไม่ได้ ส่วนงบประมาณในการดำเนินการจัดทำประชามตินั้น คาดว่าไม่น่าจะแตกต่างจากการทำประชามติครั้งที่ผ่านมา ซึ่งได้ใช้ไปประมาณ 1,800 ล้านบาทนางสดศรี กล่าวอีกว่า การทำประชามติครั้งนี้หากเป็นที่ยอมรับกันทั้ง 2 ฝ่าย ก็จะสามารถยุติปัญหาของบ้านเมืองได้ เพราะหลังจากนายกรัฐมนตรีประกาศใช้พรก.ฉุกเฉินก็ไม่มีมาตรการชัดเจนที่จะยุติปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าการที่รัฐบาลจะให้มีการการจัดทำประชามตินั้น ก็ไม่น่าจะเป็นการยื้อเวลาของรัฐบาล และตนคิดว่ารัฐบาลก็พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อแก้ปัญหาให้ยุติลง และมาตรการที่รัฐบาลทำขณะนี้ก็มีกฎหมายรองรับทั้งสิ้น และในเมื่อประชาชนมีส่วนร่วมก็ต้องการให้ประชาชนได้ใช้สิทธิทุกอย่างในความเป็นความตายของประเทศ ซึ่งการทำประชามติก็เป็นมาตรการหนึ่งที่สามารถทำได้ ไม่ใช่ว่ารัฐบาลต้องการยื้อ หากทำประชามติแล้วไม่มีใครยอมรับก็ต้องมีเหตุเกิดขึ้น คิดว่าเมื่อสิ่งเหล่านี้เมื่อกฎหมายออกมาแล้ว น่าจะมีการลองผิด-ลองถูกกันอีกสักครั้ง ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการยอมรับของประชาชนขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก คมชัดลึก
ใครสมควรเป็นนายกของพวกเรา?
นายกสมควรลาออกหรือไม่
วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น