ใครสมควรเป็นนายกของพวกเรา?

นายกสมควรลาออกหรือไม่

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

"สมัคร"ต้องรีบ ทางออกฉุกเฉิน?


"สมัคร"ต้องรีบ ทางออกฉุกเฉิน?
เหตุการณ์ปะทะนองเลือดระหว่าง กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จ การแห่งชาติ หรือ นปช. กับ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิป ไตยจนมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมากทำให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถาน การณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่กรุงเทพฯพร้อมมอบหมายให้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ร่วมกับ ผบ.ตร. และแม่ทัพภาคที่ 1ถึงไม่มีการระบุชัดเจนลงไปให้ทหารใช้กำลังปราบปรามขั้นเด็ดขาด กับม็อบพันธมิตรฯ ที่ปักหลักยึดทำเนียบรัฐบาลเป็นเสมือนบ้านพักตากอากาศแต่เจตนาแท้จริงอย่างไร เชื่อว่าคนในสังคมรู้กันดีที่ชัดเจนคือภายหลังพล.อ.อนุพงษ์ แสดงท่าทียืนยันไม่ใช้ความรุนแรงเข้าสลายม็อบก็ได้สร้างความหงุดหงิดให้กับคนในรัฐบาลและส.ส.พรรคพลังประชาชนอย่างมากลูกพรรคบางคนถึงขั้นข่มขู่ หากพล.อ.อนุพงษ์มีท่าทีอ่อนต่อการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ มีความผิดตามกฎหมายอาญาส่งสัญญาณชัดเจนต้องการให้ทหารใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ท้าทายอำนาจรัฐทั้งที่ก่อนหน้านี้นายสมัคร เป็นคนพูดเองว่าพร้อมเป็นฝ่ายถอย ไม่เริ่มต้น ไม่ปะทะเมื่อพูดแล้วไม่ปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่ได้คนพูดก็ต้องรับผิดชอบไปเต็มๆมีเหตุการณ์หลายอย่างสอดรับกันเป็นฉากๆ ว่ารัฐบาลยึดแนวทางตอบโต้กลุ่มพันธมิตรฯ แบบตาต่อตาฟันต่อฟันภาพกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กระบองเข้าสลายการชุมนุมบริเวณสะพานมัฆวานฯ ถือเป็นข้อผิดพลาดแรกของรัฐบาล อันส่งผลต่อสถานการณ์รวมกระแสความเห็นอกเห็นใจพลิกกลับไปอยู่กับฝ่ายพันธมิตรฯทันทีไม่ทันที่เรื่องดังกล่าวจะเย็นลง ก็ได้เกิดเหตุการณ์ม็อบนปช.ยกพวกบุกตีม็อบพันธมิตรฯ เมื่อคืนวันที่ 2 ก.ย.ซ้ำเติมความผิดพลาดหนักกว่าเดิม เนื่องจากครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากสร้างความสลดใจให้คนทั้งประเทศยิ่งกว่านั้นการที่มีส.ส.พลังประชาชนไปปรากฏตัวอยู่ในเหตุการณ์ทำให้รัฐบาลโดยเฉพาะนายสมัคร ที่เป็นทั้งนายกฯและหัวหน้าพรรค ต้องเจอความยากลำบากในการตอบคำถามสังคมที่ตั้งข้อสงสัย ว่าสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้น รัฐบาลต้องการให้เกิดเพื่อใช้เป็นข้ออ้างประกาศภาวะฉุกเฉินอาศัยกองทัพทำลายล้างขบวนการประชาชนกลิ่นอายประวัติศาสตร์เดือนตุลาคม 2519 โชยหึ่งตรงนี้เองเป็นสารกระตุ้นบรรดานักวิชาการ อธิการ- บดี อาจารย์มหา"ลัย นิสิต-นักศึกษา กลุ่มแพทย์พยาบาล เอ็นจีโอ นักสิทธิมนุษยชน องค์กรสื่อ ฝ่ายค้าน ส.ว. ฯลฯออกมาต่อต้านเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยด่วนเพราะนอกจากต้องสงสัยว่าเป็นการจัดฉาก การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่เมืองหลวง ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ประเทศในสายตานานาชาติยิ่งคงไว้นานเท่าไร ความเสียหายยิ่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัวที่สำคัญกว่านั้นกระแสต้านพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยังตีคู่มากับข้อเรียกร้องให้นายกฯลาออกหรือไม่ก็ยุบสภาโดยเฉพาะอย่างหลัง หลายฝ่ายเชื่อตรงกันว่าเป็นวิธีดีที่สุดในการ "ปลดล็อก" สถานการณ์ขัดแย้งขณะนี้สำหรับการทำ "ประชามติ" สอบถามทางออกจากประชาชนตามที่รัฐบาลเสนอ ก็ดูเหมือนจะไม่ทันต่อสถานการณ์ที่ต้องลุ้นชี้ขาดวันต่อวันจากสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันความชอบธรรมของฝ่ายกลุ่มพันธมิตรฯ มีปัญหามาตั้งแต่การบุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล และสถานที่ราชการหลายแห่ง เมื่อวันที่ 26 ส.ค.แต่ฝ่ายรัฐบาลเองก็ไม่ได้หมายความจะอยู่ในสภาพดีกว่ากันเท่าใดนัก บางคนมองว่าย่ำแย่กว่าด้วยซ้ำท่ามกลางข้อปัญหาใหญ่ๆ ของรัฐบาล มีปัญหาย่อยๆ แทรกซ้อนอยู่จำนวนมากไม่ว่าการลาออกของนายเตช บุนนาค จากรมว.การต่างประเทศกรณีนักศึกษารามคำแหงถูกยิงขณะเดินขบวนประท้วงไปยังบ้านนายกรัฐ มนตรีหรือแม้แต่กรณี กกต.มีมติเอก ฉันท์ 5 เสียง ส่งคดียุบพรรคพลังประชาชนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด ปัญหาคดีความต่างๆเหล่านี้เป็นตัวเร่งสถานการณ์ของรัฐบาลให้ทรุดโทรมลงอย่างรวดเร็วนายกฯสมัคร พยายามดิ้นหนีเอาตัวรอดด้วยการประกาศภาวะฉุกเฉิน ลากทหารออกมาเป็นกันชนแม้ว่าปกติแล้วพ.ร.ก.ฉุกเฉิน คือกลไกทางกฎหมายอย่างหนึ่งที่รัฐบาลสามารถนำออกมาใช้ได้ในยามจำเป็นแต่การนำมาใช้อย่างมีเงื่อนงำ แฝงไปด้วยอารมณ์กระหายเลือด ทำให้พ.ร.ก.ฉุกเฉินกลายเป็นดาบสองคม พร้อมจะบาดมือคนที่หยิบมาใช้โดยไม่ระมัดระวังยังดีที่คนถือดาบคือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ผู้ไม่นิยมความรุนแรง ทั้งรัฐบาล กลุ่มพันธมิตรฯเลยถือว่าโชคดีไปเมื่อสถานการณ์มาหยุดอยู่ตรงจุดที่พล.อ. อนุพงษ์ ยืนยันจะเข้ามาแก้ปัญหาไม่ให้ม็อบพุ่งชนกันเท่านั้นส่วนปัญหาขัดแย้งทางการเมืองอื่นๆ นักการเมืองต้องไปแก้กันเองตามวิถีทางรัฐสภาเรื่องเลยกลายเป็นว่านายสมัคร ยังเป็นกุญแจสำคัญที่จะคลี่คลายเรื่องทั้งหมดถึงจะออกสื่อวิทยุโทรทัศน์ย้ำแล้วย้ำอีกว่าไม่ลาออกหรือยุบสภาแต่ใครต่อใครหลายคนยังเชื่อว่า นายสมัครซึ่งกำลังตกอยู่ภายใต้แรงกดดันรอบทิศ นับวันยิ่งเหลือหนทางต่อสู้เพื่อรักษาอำนาจน้อยลงเรื่อยๆการยุบสภาถึงอย่างไรก็ยังมีเปอร์เซ็นต์สูง ที่จะถูกเลือกใช้เป็นทางออกสำหรับชาติบ้านเมืองหน้า 3

ไม่มีความคิดเห็น: