
ตรวจการบ้าน คนการเมือง
ฝ่ายหนึ่งก็ไม่ยุบ-ไม่ลาออก ขณะที่อีกฝ่ายก็ไม่เลิกชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ถึงตอนนี้ต้องบอกว่า ไม่มีใครเดาออกว่า ทางลงของวิกฤติการเมืองครั้งสำคัญครั้งนี้จะจบลงที่ตรงไหน ในฐานะ “สภาสูง” ซึ่งสังคมหวังให้เป็น “คนกลาง” อย่าง นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา น่าจะมีคำตอบให้ไม่มากก็น้อยว่า “การเมืองไทยจะไปทางไหนดี” เหตุการณ์การเมืองขณะนี้ แม้จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินก็ไม่มีอะไร กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ก็ยังชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลเหมือนเดิม เหตุการณ์ปกติเหมือนที่ผ่านมา แต่เหตุการณ์ที่จะเป็นชนวนวิวาทกันไม่มี แต่ปัญหาก็ยังอยู่ และมีอีกเยอะ มีการกดดันมากขึ้น ซึ่งก็อยู่ที่รัฐบาลจะพิจารณาดำเนินการอย่างไร ในฐานะประธานวุฒิสภา เสนอทางออกอย่างไร เราพยายามพูดคุยกันตลอดเวลาว่าจะหาทาง ออกอย่างไร พยายามหาทางอย่างเต็มที่ อาจจะต้องคุยกันอีกแต่ขณะนี้เราเห็นด้วยที่ฝ่ายทหารไม่ได้ใช้มาตรการรุนแรงเพราะปกติถ้าเราจะทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ใช้หลักกฎหมายอย่างเดียวมันก็คงไม่ได้ ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ด้วย ต้องหาทางดูว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ มองว่าการบังคับใช้ตามกฎหมายไม่เป็นผล อย่างที่บอกถ้าจะไปใช้กฎหมายเคร่งครัดเพื่อไปสลายม็อบอะไรจะเกิดขึ้น ก็ต้องชั่งน้ำหนักด้วยว่าทำได้หรือเปล่า สมัยก่อนหากมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินคนจะกลัวกลับเข้าที่ตั้งกันหมดแต่นี่ไม่มีใครกลัวแล้ว ตรงกันข้ามยิ่งประกาศคนยิ่งมากันเยอะขึ้น ตรงนี้ต้องกลับมาคิดใหม่แล้วว่าทำไมเป็นอย่างนั้น กลับกลายเป็นทวีความรุนแรงขึ้น ดังนั้นผมคิดว่าทุกฝ่ายจะต้องคิดและหาทางแก้ใหม่แล้ว อย่างนี้มันคงใช้ไม่ได้แล้ว ต้องหาทางเจรจาหรือแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่ง มองว่าอำนาจรัฐใช้ไม่ได้ ผมมองว่าตอนนี้ความเชื่อมั่นของต่างประเทศลดลง ความเสียหายจากธุรกิจท่องเที่ยววันละ 450 ล้านบาท ประชาชนเสื่อมคลายกับความเชื่อมั่นของรัฐบาลเยอะ ดังนั้นรัฐบาลต้องหาทางเรียกความเชื่อมั่นและความสงบในประเทศกลับคืนมาไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม ตอนนี้ผมรู้สึกว่ามันแตกกลายเป็น 2 ข้าง ข้างที่เชื่อมั่นในรัฐบาล และข้างที่ไม่เชื่อมั่นในรัฐบาล แต่ก่อนยังแค่ฝ่ายพันธมิตรฯหรือไม่เอาพันธมิตรฯ แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นเพิ่มคนที่ไม่เชื่อมั่นรัฐบาลขึ้นมา รัฐบาลต้องคิดถึงจุดนี้ ความคาดหวังว่ารัฐสภาจะแก้ปัญหาได้ ก็พยายามพูดคุยกันในเวทีรัฐสภา ซึ่งได้รับการประสานจากประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าจะต้องมานั่งหารือกับผู้นำฝ่ายค้านว่าจะทำอย่างไรในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ โดยการเปิดประชุมรัฐสภาก็จะต้องดูว่า มันจะคุ้มหรือเปล่าที่จะเปิดหรือจะทำอะไรกันได้บ้าง ยืนยันว่า ทางฝ่ายรัฐสภาเข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองและได้พยายามแก้ไขอยู่ตลอดเวลา อยากให้ประเทศชาติเรียบร้อย ทุกฝ่ายยอมรับการตัดสินใจของแต่ละฝ่ายได้ มองว่าการประชุมร่วม 2 สภาที่ผ่านมาได้ผล แม้ไม่ได้อะไรมากนัก แต่ก็ได้เห็นจุดยืนว่าทางรัฐสภามีความคิดเห็นว่าควรจะทำอย่างไรบ้าง เช่น การเสนอให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างนิ่ม นวล ให้รัฐบาลลาออกหรือยุบสภา อะไรเหล่านี้ ซึ่งอย่างน้อยก็เห็นเป็นรูปธรรมเป็นแนวทางที่จะแก้ปัญหาได้ นายกรัฐมนตรียังยืนยันไม่ลาออกหรือยุบสภา อยู่ที่ดุลพินิจของท่านนายกฯ แต่ท่านก็ต้องคิดต่อไปว่า โอ้... ทำไมประชาชนเป็นอย่างนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของท่านก็ลาออก พวกนี้ต้องนำมาคิดด้วย หนทางเดินไปข้างหน้าไม่ลำบากหรอก เราต้องคิด พยายามหาทางแก้ไข แนวทางให้คนกลางมาเจรจา ก็มีคนเสนออย่างนั้น แต่เราต้องพยายามหาคนกลางที่มีความเชื่อมั่นและทุกฝ่ายต้องยอมรับ แต่ที่สำคัญทุกฝ่ายยินดีที่จะมาคุยกันหรือเปล่า คนกลางก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะแก้ไขวิกฤติตรงนี้ได้ ตอนนี้ผมได้รับข้อเสนอแนะมากมาย มีทั้งเรื่องคนกลางด้วย แต่ดูว่าจะทำอะไรได้ขนาดไหน ในฐานะวุฒิสภา ผมก็เคยคิดว่าอยากให้มีการเจรจา แต่ปัญหาคือรู้สึกว่าไม่มีใครอยากจะเจรจากันเลย หากยุบสภา วุฒิสภาต้องทำหน้าที่อย่างไร กรณีหากยุบสภาจริง วุฒิสภาก็แค่ทำหน้าที่รักษาการ แต่จะ ประชุมพิจารณากฎหมายอะไรกันไม่ได้ แค่รักษาการทำหน้าที่เป็น 2 สภาเท่านั้นเอง ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายจะมีปัญหาอย่างไร ถ้ามีการยุบสภาในขั้นตอนที่สภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ยังไม่เสร็จ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯก็ตกไปรวมทั้งกฎหมายต่าง ๆ ด้วยและหากแม้จะผ่านสภาไปแล้ว แต่วุฒิสภายังไม่ได้พิจารณาก็จะไม่สามารถเปิดประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อได้ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯก็จะตกไปต้องกลับไปใช้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯเดิมไปพลางก่อน แต่ก็ไม่นานเพราะ 3-4 เดือนก็เลือกตั้งใหม่ เมื่อตั้งรัฐบาลใหม่แล้วก็เสนองบประมาณเข้ามาใหม่ได้ เพราะฉะนั้นจะขัดข้องในช่วง 3-4 เดือนแรกแค่นั้น
การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯของวุฒิสภา วุฒิสภาพยายามเร่งเท่าที่จะเร่งได้ เพราะเข้าใจสถานการณ์ตอนนี้ ซึ่งเร็วที่สุดก็จะพิจารณาได้วันศุกร์ 12 ก.ย. แต่ขณะนี้ยังไม่ได้บรรจุในระเบียบวาระการประชุมเลยเพราะสภายังไม่ผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ซึ่งอาจจะเสร็จในวันที่ 5-6 ก.ย. เมื่อผ่านสภาแล้วจึงจะบรรจุในระเบียบวาระได้เพราะจะต้องส่งเอกสารข้อมูลให้สมาชิกได้ศึกษาก่อน ดังนั้นจะกำหนดก่อนวันที่ 12 ก.ย. ไม่ได้ ส.ว.บางคนขึ้นเวทีพันธมิตรฯอาจมองว่าไม่เป็นกลาง บทบาทวุฒิสภาในองค์รวมจะต้องเป็นกลาง ผมเองในฐานะประธานวุฒิสภาก็พยายามทำตัวเป็นกลาง การให้สัมภาษณ์อะไรที่จะส่งผลกระทบก็ไม่กล้า สื่อมวลชนอยากให้ผมวิพากษ์วิจารณ์ผมก็บอกว่าไม่ได้หรอกเพราะเราเป็นตัวแทนของวุฒิสภา เพียงได้แต่ขอร้องอย่าได้ใช้ความรุนแรงเพราะเป็นประชาชนคนไทยด้วยกันเท่านั้น เรื่องอื่นทำมากกว่านี้ไม่ได้ ส่วนสมาชิกที่ขึ้นเวทีนั้นแล้วแต่มุมมองของแต่ละท่าน แต่ถือเป็นเอกสิทธิ์ส่วนบุคคล ซึ่งท่านก็ทำในนามส่วนตัว ไม่ได้ทำในนามวุฒิสภา อันนี้คงไปห้ามกันไม่ได้เพราะต่างคนต่างแนวคิด แต่โดย รวมแล้วทุกคนรักประเทศชาติ และอยากเห็นความสงบสุขเกิดขึ้นในบ้านเมือง มองว่าการตั้งข้อหากับแกนนำพันธมิตรฯว่ากบฏเกินกว่าเหตุ ไม่ทราบแต่ขอยกตัวอย่างที่ในอดีต ผมจำได้สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีก็เกิดปัญหาการทำผิดกฎหมายที่ จ.ลำพูน มีชาวบ้านบุกรุกเข้าไปในเหมืองแร่ ภายหลังถูกฟ้องคดี เรื่องไปที่ศาลแล้วท่านก็ยังบอกให้อัยการถอนฟ้องคดีดังกล่าวเพื่อให้เกิดความสงบสุข แสดงให้เห็นว่าใช้หลักกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ถ้าใช้หลักกฎหมาย อย่างเดียวก็ให้ศาลตัดสินไปเลย แต่ท่านกลับใช้หลักรัฐศาสตร์ เกรงว่า อาจจะเกิดความวุ่นวายก็เลยถอนฟ้องกันจึงจะสงบลงได้ ต้องคิดทางออก อย่างนี้บ้าง ใครจะเป็นคนยกเลิกข้อหา ไม่ทราบ แต่ถ้าคิดว่าต้องการทำให้เรียบร้อย ทำอย่างที่ลำพูนก็ได้ ซึ่งศาลฟ้องและกำลังพิจารณาคดีแล้วก็ถอนฟ้อง คดีก็เลิกไป ดังนั้นถ้าคิดว่าวิธีนี้ทำให้บ้านเมืองสงบได้ ตรงนี้ก็ถือเป็นวิธีหนึ่งที่เคยทำมาแล้วในอดีต พันธมิตรฯ ยืนยันไม่เจรจาหรือมีการยุบสภาก็ยังไม่เลิกการชุมนุม ผมคิดว่ามันต้องหาทางที่ตกลงกันได้ ตอนนี้มันยังไม่ได้เจรจากันมั้ง คิดว่าข้อเรียกร้องแต่ละฝ่ายก็ค่อย ๆ ถอนกันได้ ผมเข้าใจว่ายังไม่ได้ริเริ่มกันอย่างจริงจังมากกว่า เพียงแต่พูดกันไปพูดกันมา แต่คิดว่าหากได้เริ่มผมคิดว่าเจรจากันได้.
ฝ่ายหนึ่งก็ไม่ยุบ-ไม่ลาออก ขณะที่อีกฝ่ายก็ไม่เลิกชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลไล่รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ถึงตอนนี้ต้องบอกว่า ไม่มีใครเดาออกว่า ทางลงของวิกฤติการเมืองครั้งสำคัญครั้งนี้จะจบลงที่ตรงไหน ในฐานะ “สภาสูง” ซึ่งสังคมหวังให้เป็น “คนกลาง” อย่าง นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา น่าจะมีคำตอบให้ไม่มากก็น้อยว่า “การเมืองไทยจะไปทางไหนดี” เหตุการณ์การเมืองขณะนี้ แม้จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินก็ไม่มีอะไร กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ก็ยังชุมนุมในทำเนียบรัฐบาลเหมือนเดิม เหตุการณ์ปกติเหมือนที่ผ่านมา แต่เหตุการณ์ที่จะเป็นชนวนวิวาทกันไม่มี แต่ปัญหาก็ยังอยู่ และมีอีกเยอะ มีการกดดันมากขึ้น ซึ่งก็อยู่ที่รัฐบาลจะพิจารณาดำเนินการอย่างไร ในฐานะประธานวุฒิสภา เสนอทางออกอย่างไร เราพยายามพูดคุยกันตลอดเวลาว่าจะหาทาง ออกอย่างไร พยายามหาทางอย่างเต็มที่ อาจจะต้องคุยกันอีกแต่ขณะนี้เราเห็นด้วยที่ฝ่ายทหารไม่ได้ใช้มาตรการรุนแรงเพราะปกติถ้าเราจะทำตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ใช้หลักกฎหมายอย่างเดียวมันก็คงไม่ได้ ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์ด้วย ต้องหาทางดูว่าทำอย่างไรที่จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับกันได้ มองว่าการบังคับใช้ตามกฎหมายไม่เป็นผล อย่างที่บอกถ้าจะไปใช้กฎหมายเคร่งครัดเพื่อไปสลายม็อบอะไรจะเกิดขึ้น ก็ต้องชั่งน้ำหนักด้วยว่าทำได้หรือเปล่า สมัยก่อนหากมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินคนจะกลัวกลับเข้าที่ตั้งกันหมดแต่นี่ไม่มีใครกลัวแล้ว ตรงกันข้ามยิ่งประกาศคนยิ่งมากันเยอะขึ้น ตรงนี้ต้องกลับมาคิดใหม่แล้วว่าทำไมเป็นอย่างนั้น กลับกลายเป็นทวีความรุนแรงขึ้น ดังนั้นผมคิดว่าทุกฝ่ายจะต้องคิดและหาทางแก้ใหม่แล้ว อย่างนี้มันคงใช้ไม่ได้แล้ว ต้องหาทางเจรจาหรือแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่ง มองว่าอำนาจรัฐใช้ไม่ได้ ผมมองว่าตอนนี้ความเชื่อมั่นของต่างประเทศลดลง ความเสียหายจากธุรกิจท่องเที่ยววันละ 450 ล้านบาท ประชาชนเสื่อมคลายกับความเชื่อมั่นของรัฐบาลเยอะ ดังนั้นรัฐบาลต้องหาทางเรียกความเชื่อมั่นและความสงบในประเทศกลับคืนมาไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม ตอนนี้ผมรู้สึกว่ามันแตกกลายเป็น 2 ข้าง ข้างที่เชื่อมั่นในรัฐบาล และข้างที่ไม่เชื่อมั่นในรัฐบาล แต่ก่อนยังแค่ฝ่ายพันธมิตรฯหรือไม่เอาพันธมิตรฯ แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็นเพิ่มคนที่ไม่เชื่อมั่นรัฐบาลขึ้นมา รัฐบาลต้องคิดถึงจุดนี้ ความคาดหวังว่ารัฐสภาจะแก้ปัญหาได้ ก็พยายามพูดคุยกันในเวทีรัฐสภา ซึ่งได้รับการประสานจากประธานสภาผู้แทนราษฎรว่าจะต้องมานั่งหารือกับผู้นำฝ่ายค้านว่าจะทำอย่างไรในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ โดยการเปิดประชุมรัฐสภาก็จะต้องดูว่า มันจะคุ้มหรือเปล่าที่จะเปิดหรือจะทำอะไรกันได้บ้าง ยืนยันว่า ทางฝ่ายรัฐสภาเข้าใจสถานการณ์บ้านเมืองและได้พยายามแก้ไขอยู่ตลอดเวลา อยากให้ประเทศชาติเรียบร้อย ทุกฝ่ายยอมรับการตัดสินใจของแต่ละฝ่ายได้ มองว่าการประชุมร่วม 2 สภาที่ผ่านมาได้ผล แม้ไม่ได้อะไรมากนัก แต่ก็ได้เห็นจุดยืนว่าทางรัฐสภามีความคิดเห็นว่าควรจะทำอย่างไรบ้าง เช่น การเสนอให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างนิ่ม นวล ให้รัฐบาลลาออกหรือยุบสภา อะไรเหล่านี้ ซึ่งอย่างน้อยก็เห็นเป็นรูปธรรมเป็นแนวทางที่จะแก้ปัญหาได้ นายกรัฐมนตรียังยืนยันไม่ลาออกหรือยุบสภา อยู่ที่ดุลพินิจของท่านนายกฯ แต่ท่านก็ต้องคิดต่อไปว่า โอ้... ทำไมประชาชนเป็นอย่างนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของท่านก็ลาออก พวกนี้ต้องนำมาคิดด้วย หนทางเดินไปข้างหน้าไม่ลำบากหรอก เราต้องคิด พยายามหาทางแก้ไข แนวทางให้คนกลางมาเจรจา ก็มีคนเสนออย่างนั้น แต่เราต้องพยายามหาคนกลางที่มีความเชื่อมั่นและทุกฝ่ายต้องยอมรับ แต่ที่สำคัญทุกฝ่ายยินดีที่จะมาคุยกันหรือเปล่า คนกลางก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะแก้ไขวิกฤติตรงนี้ได้ ตอนนี้ผมได้รับข้อเสนอแนะมากมาย มีทั้งเรื่องคนกลางด้วย แต่ดูว่าจะทำอะไรได้ขนาดไหน ในฐานะวุฒิสภา ผมก็เคยคิดว่าอยากให้มีการเจรจา แต่ปัญหาคือรู้สึกว่าไม่มีใครอยากจะเจรจากันเลย หากยุบสภา วุฒิสภาต้องทำหน้าที่อย่างไร กรณีหากยุบสภาจริง วุฒิสภาก็แค่ทำหน้าที่รักษาการ แต่จะ ประชุมพิจารณากฎหมายอะไรกันไม่ได้ แค่รักษาการทำหน้าที่เป็น 2 สภาเท่านั้นเอง ร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายจะมีปัญหาอย่างไร ถ้ามีการยุบสภาในขั้นตอนที่สภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ยังไม่เสร็จ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯก็ตกไปรวมทั้งกฎหมายต่าง ๆ ด้วยและหากแม้จะผ่านสภาไปแล้ว แต่วุฒิสภายังไม่ได้พิจารณาก็จะไม่สามารถเปิดประชุมวุฒิสภาเพื่อพิจารณาต่อได้ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯก็จะตกไปต้องกลับไปใช้ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯเดิมไปพลางก่อน แต่ก็ไม่นานเพราะ 3-4 เดือนก็เลือกตั้งใหม่ เมื่อตั้งรัฐบาลใหม่แล้วก็เสนองบประมาณเข้ามาใหม่ได้ เพราะฉะนั้นจะขัดข้องในช่วง 3-4 เดือนแรกแค่นั้น
การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯของวุฒิสภา วุฒิสภาพยายามเร่งเท่าที่จะเร่งได้ เพราะเข้าใจสถานการณ์ตอนนี้ ซึ่งเร็วที่สุดก็จะพิจารณาได้วันศุกร์ 12 ก.ย. แต่ขณะนี้ยังไม่ได้บรรจุในระเบียบวาระการประชุมเลยเพราะสภายังไม่ผ่านร่าง พ.ร.บ.งบประมาณฯ ซึ่งอาจจะเสร็จในวันที่ 5-6 ก.ย. เมื่อผ่านสภาแล้วจึงจะบรรจุในระเบียบวาระได้เพราะจะต้องส่งเอกสารข้อมูลให้สมาชิกได้ศึกษาก่อน ดังนั้นจะกำหนดก่อนวันที่ 12 ก.ย. ไม่ได้ ส.ว.บางคนขึ้นเวทีพันธมิตรฯอาจมองว่าไม่เป็นกลาง บทบาทวุฒิสภาในองค์รวมจะต้องเป็นกลาง ผมเองในฐานะประธานวุฒิสภาก็พยายามทำตัวเป็นกลาง การให้สัมภาษณ์อะไรที่จะส่งผลกระทบก็ไม่กล้า สื่อมวลชนอยากให้ผมวิพากษ์วิจารณ์ผมก็บอกว่าไม่ได้หรอกเพราะเราเป็นตัวแทนของวุฒิสภา เพียงได้แต่ขอร้องอย่าได้ใช้ความรุนแรงเพราะเป็นประชาชนคนไทยด้วยกันเท่านั้น เรื่องอื่นทำมากกว่านี้ไม่ได้ ส่วนสมาชิกที่ขึ้นเวทีนั้นแล้วแต่มุมมองของแต่ละท่าน แต่ถือเป็นเอกสิทธิ์ส่วนบุคคล ซึ่งท่านก็ทำในนามส่วนตัว ไม่ได้ทำในนามวุฒิสภา อันนี้คงไปห้ามกันไม่ได้เพราะต่างคนต่างแนวคิด แต่โดย รวมแล้วทุกคนรักประเทศชาติ และอยากเห็นความสงบสุขเกิดขึ้นในบ้านเมือง มองว่าการตั้งข้อหากับแกนนำพันธมิตรฯว่ากบฏเกินกว่าเหตุ ไม่ทราบแต่ขอยกตัวอย่างที่ในอดีต ผมจำได้สมัย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรีก็เกิดปัญหาการทำผิดกฎหมายที่ จ.ลำพูน มีชาวบ้านบุกรุกเข้าไปในเหมืองแร่ ภายหลังถูกฟ้องคดี เรื่องไปที่ศาลแล้วท่านก็ยังบอกให้อัยการถอนฟ้องคดีดังกล่าวเพื่อให้เกิดความสงบสุข แสดงให้เห็นว่าใช้หลักกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้แล้ว ถ้าใช้หลักกฎหมาย อย่างเดียวก็ให้ศาลตัดสินไปเลย แต่ท่านกลับใช้หลักรัฐศาสตร์ เกรงว่า อาจจะเกิดความวุ่นวายก็เลยถอนฟ้องกันจึงจะสงบลงได้ ต้องคิดทางออก อย่างนี้บ้าง ใครจะเป็นคนยกเลิกข้อหา ไม่ทราบ แต่ถ้าคิดว่าต้องการทำให้เรียบร้อย ทำอย่างที่ลำพูนก็ได้ ซึ่งศาลฟ้องและกำลังพิจารณาคดีแล้วก็ถอนฟ้อง คดีก็เลิกไป ดังนั้นถ้าคิดว่าวิธีนี้ทำให้บ้านเมืองสงบได้ ตรงนี้ก็ถือเป็นวิธีหนึ่งที่เคยทำมาแล้วในอดีต พันธมิตรฯ ยืนยันไม่เจรจาหรือมีการยุบสภาก็ยังไม่เลิกการชุมนุม ผมคิดว่ามันต้องหาทางที่ตกลงกันได้ ตอนนี้มันยังไม่ได้เจรจากันมั้ง คิดว่าข้อเรียกร้องแต่ละฝ่ายก็ค่อย ๆ ถอนกันได้ ผมเข้าใจว่ายังไม่ได้ริเริ่มกันอย่างจริงจังมากกว่า เพียงแต่พูดกันไปพูดกันมา แต่คิดว่าหากได้เริ่มผมคิดว่าเจรจากันได้.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น